Welcome



วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 13


ครั้งที่ 13 วันที่ 30 กันยายน 2553


=> อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมกระดาษลังมา เพื่อนให้นักศึกษาแต่ละคนทำป้ายนิเทศแบบใดก้ได้โดยการนำเอาความรู้ที่อาจารย์สอนมาประยุกต์ใช้ อาจารย์มีกระดาษสี กาว กรรไกร สี ให้ แต่ก่อนลงมือทำก็ได้ให้นักศึกษาวางแผ่นก่อนทำจากนั้นก็ให้ลงมือทำได้


ผลงาน


ครั้งที่ 12



ครั้งที่ 12 วันที่ 23 กันยายน 2553

=> อาจารย์ให้ส่งแป้งโดว์พร้อมกับอุปกรณ์การเล่น และจากนั้นก้ได้สรุปเรื่องสื่อและประโยชน์ของสื่อ ทำให้เกิดทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้

ครั้งที่ 11


ครั้งที่ 11 วันที่ 16 กันยายน 2553

=> วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำแป้งโดว์ โดยแบ่งกลุ่มแล้วเตรียมอุปกรณ์มาทำในห้องเรียน จากนั้นก้ได้ช่วยกันลงมือทำแป้งโดว์ บรรยากาศตอนทำทุกคนตื่นเต้นและสนุกสนานไปกับการทำ และเมื่อทำแป้งโดว์เสร็จทุกคนก็ได้ช่วยกนัเก็บของทำความสะอาด

=> จากการทำแป้งโดว์ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้ว่ายังมีสิ่งที่สามารถเล่นแทนดินน้ำมันได้และก็ยังปลอดภัยด้วย และเราก็ยังสามารถหาอุปกรณ์มาเล่นกับแป้งโดว์ได้โดยที่ไม่ต้องซื้อ


ครั้งที่ 10


ครั้งที่ 10 วันที่ 9 กันยายน 2553

=> อาจารย์ให้ส่งงาน ป๊อบอัพ แล้วจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาสอบ บรรยากาศตึงเครียดเล็กน้อย


ผลงานป๊อบอัพ


ครั้งที่ 9

ครั้งที่ 9 วันที่ 2 กันยายน 2553


=> วันนี้อาจารย์ได้ให้กลุ่ม 101 กับ 102 มาเรียนรวมกัน แล้วได้ตรวจงานที่ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์ จากนั้นก็ได้ขึ้นไปเรียนบนห้องเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้ดูและเล่นเกมการศึกษาที่อาจารย์เตรียมมาให้

ครั้งที่ 8

ครั้งที่ 8 วันที่ 19 สิงหาคม 2553

=> อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการไปอบรมในวันที่ 7 สิงหาคม 2553 แล้วก็ได้ให้คนที่ไม่ได้ไปมาเซ็นชื่อพร้อมกับถามเหตุผลว่าเพราะอะไร จากนั้นอาจารย์ก็ได้ตรวจดูงานของนักศึกษาแล้วก็ได้ให้งานใหม่ และอาจารย์ก็ได้สอนทำ ป๊อบอัพในแบบต่าง ๆ


ผลงานที่ได้เข้าอบรมสื่อ



วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 7


ครั้งที่ 7 วันที่ 29 กรกฎาคม 2553

- อาจารย์เข้ามาสั่งให้นักศึกษาอ่านชีท เกมการศึกษา และอาจารย์ได้ออกไปทำธุระ เมื่ออาจารย์กลับมาก็อธิบายเรื่อง เกมการศึกษาและสั่งงานให้นักศึกษาคิดทำเกมการศึกษาคนละหนึ่งเกม โดยมีตัวอย่างในชีสและต้องไม่ให้ซ้ำกันมีรูปแบบเหมือนกันได้แต่เนื้อหาไม่ให้เหมือนกัน


เกมการศึกษาของดิฉัน คือ เกมภาพตัดต่อยีราฟ A-Z










เกมส์ที่ทำนี้เป็นการเล่นที่ให้ความสนุกสนานและยังทำให้เด็กได้รู้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ A-Z และทำให้รู้จักรูปการ์ตูนสัตว์ จึงคิดว่ามันเหมาะสมกับเด็ก และเด็กสามารถเล่นได้ทุกครั้งที่เด็กอยากเล่น


ทักษะและประสบการณ์ที่เด็กได้รับ คือ สามารถพัฒนาความสามารถทางการสังเกตและได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก

วัสดุ

1. กระดาษร้อบปอนด์
2. ดินสอ ยางลบ
3. สี
4. โฟมยางหรือกระดาษลัง
5. กาว
6. กรรไกรหรือคัตเตอร์

วิธีทำ

1.นำกระดาษร้อยปอนด์มาตัดขนากตามที่ต้องการ
2.วาดรูปยีราฟและ A-Z แล้วระบายสี
3.นำกระดาษไปติดกับโฟมยางหรือกระดาษลัง
4.นำคัตเตอร์มาตัดตามรูปเป็นชิ้น ๆ ก็เสร็จแล้วค่ะ










วิธีเล่น

- สอน A-Z ให้เด็กได้รู้
- นำตัวอักษร A-Z มาคละกัน
- ให้เด็กนำมาต่อในฐานที่ทำไว้
- เมื่อต่อเสร็จตรวจดูว่าถูกต้องหรือไม่
- เมื่อถูกก็ชื่นชมและให้คะแนน

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 6

ครั้งที่ 6 วันที่ 22 กรกฎาคม 2553


เกมการศึกษา หมายถึง กิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิด


สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

ความสำคัญ


- ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
- ได้รับประสบการณ์ตรงจำได้นาน
- รวดเร็ว, เพลิดเพลิน,เข้าใจง่าย

ลักษณะของสื่อที่ดี


- ต้องมีความปลอดภัย
- ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก ความสนใจ
- ประหยัด
- ประสิทธิภาพ

หลักการเลือกซื้อ


- คุณภาพดี
- เด็กเข้าใจง่าย
- เลือกให้เหมาะกับสภาพของศูนย์
- เหมาะสมกับวัย
- เหมาะสมกับเวลาที่ใช้
- เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- ถูกต้องตามเนื้อหา ทันสมัย
- เด็กได้คิดเป็นทำเป็น กล้าแสดงออก

การประเมินการใช้สื่อ [ พิจารณาจากครูผู้ใช้สื่อ เด็กและสื่อ ]


- สื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้เพียงใด
- เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
- สื่อช่วยให้สอนตรงกับจุดประสงค์หรือไม่ ถูกต้องตามเนื้อหา ทันสมัย

========== ^_^ ===========


วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 5

ครั้งที่ 5 วันที่ 15 กรกฎาคม 2553


การนำเสนอสื่อ
ชื่อสื่อ =>> เกมส์ต่อจิ๊กซอว์ A - Z
วัตถุประสงค์ =>> เพื่อให้เด็กได้ใช้ความคิด ประสาทสัมพันธ์ ตา กับ มือ อายุสามารถเล่นได้คือ เด็ก 3 ปีขึ้นไป


วิธีการใช้สื่อ
1. ต่อจิ๊กซอว์แบบเสร็จสมบูรณ์ให้ดูก่อน
2. สอน A -Z ให้เด็ก

3. ให้เด็กๆได้ลงมือทำเอง

วิธีการจัด
- จัดสื่อประเภทนี้ไว้ในมุมการศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 4


ครั้งที่ 4 วันที่ 8 กรกฎาคม 2553


การแบ่งประเภทของสื่อ

- จัดตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

- ตามลักษณะของสื่อหรือวิธีการใช้งาน



กรวยประสบการณ์ 11 กลุ่ม เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale)



1. ประสบการณ์ตรง

- ได้รับประสบการณ์โดยตรงจากของจริง สถานที่จริง

2. ประสบการณ์รอง

- ให้ผู้เรียน เรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด อาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้

3. ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง

- การแสดงบทบาทสมมุติหรือการแสดงละคร เพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน

4. การสาธิต

- เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนการกระทำ

5. การศึกษานอกสถานที่

-ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่ต่าง ๆ ดดยการเที่ยวและเยี่ยมชม่ต่าง ๆ

6. นิทรรศการ

- เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม

7. โทรทัศน์

- ใช้โทรศัทน์การศึกษาและโทรทัศน์ เพื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้เรียน

8. ภาพยนต์

- เป็นภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ

9. การบันทึกเสียง

- ในรูปแบบแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง

10. ทัศนสัญลักษณ์

- เช่น แผนที่ แผนสถิติ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ

11. วัจนสัญลักษณ์

- ตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด



แนวคิดของบรูเนอร์

- กลุ่มการกระทำ

- กลุ่มภาพ

- กลุ่มนามธรรม



หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน


แนวคิดการเลือกสื่อของ โรมัส ซอวังดี้ ปัจจัยที่มัผลต่อการเลือกสื่อ



1. วิธีการสอน (Instructional Method)

2. งานการเรียนรู้ (Leraning Task)

3. ลักษณะของผู้เรียน (Learning Charactertistics)

4. ข้อจำกัดในทางปฎิบัติ (Practical Constrain)

5. ผู้สอนหรือครู (Teacher)


วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 3 วันที่ 1 กรกฎาคม 2553


สื่อการสอน
=>> ทำการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน

สื่อการศึกษา
=>> วิธีการ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อในการศึกษา

สื่อการเรียนการสอน
=>> สิ่งต่างๆ ที่เป็นส่วนของเทคโนโลยีการศึกษา เครื่องมือหรือกิจกรรมที่ครูเลือกมา เป็นพาหะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผูเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เช่น วีดีทัศน์

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
=>> ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา เช่น วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธ๊การต่าง ๆ

คุณค่าของสื่อ

- ช่วยให้เข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น- ช่วยให้สนใจในบทเรียน
- ทำให้เข้าใจเนื้อหาในบทเรียนได้ง่ายขึ้น
ฯลฯ

ขั้นตอนในการใช้สื่อ

- ขั้นนำเข้าสู้บทเรียน
- ขั้นดำเนิดการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน
- ขั้นวิเคราะห์และปฎิบัติ
- ขั้นสรุปบทเรียน

หลักการใช้สื่อ

- เตรียมผู้สอน
- เตรียมจัดสภาพแวดล้อม
- เตรียมพร้อมผู้เรียน
- การใช้สื่อ

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 2 วันที่ 24 มิถุนายน 2553
นิยามของสื่อ



สื่อหมายถึง >> ตัวกลางในการเรียนรู้ เพื่อนให้เข้าใจในข้อมูลมากขึ้น

ความคิดของท่านเด็กปฐมวันคือ :>> เด็กแรกเกิดตั้งแต่ 0 - 5 ปี และ เหมือนผ้าขาวที่บริสุทธิ์

เราควรศึกษาเด็กปฐวัยอย่างไรถึงจะรู้ว่าเด็กเป็นอย่างไร :>> ศึกษาพฤติกรรม และ พัฒนาการในด้านต่างๆ


ท่านคิดว่าเด็กปฐมวัยมีการเรียนรู้อย่างไร :>> เรียนรู้โดยการเลียบแบบจากสิ่งที่เห็น และ จากการเล่น


นักทฤษฎีที่เรารู้จักและเป็นจุดเด่น :>> ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ กล่าวว่า เด็กเป็นจุดหลักในการจัดการเรียนการสอน ความสนใจ ความต้องการ และการมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเองของเด็กได้นํามาพิจารณาและวิเคราะห์เพื่อแสวงหา วิธีการที่ดีที่สุด เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยความรู้สึกของความมีอิสระ ได้ใช้จิตของตน ในการซึม ซับสิ่งแวดล้อม รอบๆ ตัว เกิดความอยากรู้ อยากเห็น และแสวงหาความรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยใน ตนเองเกิดการพัฒนาการทุก ๆ ด้านไปใน เวลาเดียวกัน